แนวทางการพัฒนาโรงเรียน

แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

             การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการประสานงานความร่วมมือในการนำแผนพัฒนาการศึกษาไปสู่การจัดการทำแผนงานและโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จึงได้กำหนดแนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติและการประเมินผล ดังนี้

          1. ประชุมปฏิบัติการเพื่อประสานแผนการดำเนินงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามกรอบทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา 4 ปี ( พ.ศ. 2555 – 2558 )

         2. ฝ่ายบริหารงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกันแผนพัฒนาการศึกษา 4 ปีและกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา

         3. ฝ่ายบริหารงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการในแต่ละปีให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

         4. จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงาน/โครงการตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างเหมาะสม

         5. ผู้บริหารให้การสนับสนุน ส่งเสริม ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา

         6. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

         7. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานการนำแผนสู่การปฏิบัติ

         8. พัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผล รวมทั้งกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์

          8.1 ประสานการติดตามประเมินผลการตรวจสอบผลงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการประสานแผนงาน

           8.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้ฝ่ายบริหารงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตามประเมินผล แผนงาน/โครงการมีการกำหนดตัวชี้วัดและระบบการประเมินผลงานขององค์กรที่เน้นผลลัพธ์ของงานเป็นหลัก

           8.3 นำผลที่ได้จากการติดตามประเมินผลมาปรับปรุงแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

           8.4 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการติดตามประเมินผลและการกำหนดดัชนีตัวชี้วัดเพื่อสร้างทักษะในการติดตามผลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

​9. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวมเป็นระยะๆ ทั้งการประเมินผลผลิตการจัดการศึกษาและกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น